

เพื่อนๆ เคยสังเกตุกันไหมว่าทำไมเวลาเราอัพโหลดวีดิโอในช่องแล้ว มักจะมีตัวเลือกให้เลือกว่า ‘สร้างมาเพื่อเด็ก’ มันคืออะไรกันนะ เลือกแบบไหนจะเกิดอะไรขึ้น? วันนี้น้องทู้ปจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ ‘วีดิโอที่สร้างมาเพื่อเด็ก’ ให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกันนะคะ
การที่ YouTube ให้เราต้องระบุเนื้อหาของวีดิโอทั้งที่เคยอัปโหลดไปแล้วและวีดิโอที่กำลังจะปล่อยว่าวีดิโอเหล่านี้ ‘สร้างมาเพื่อเด็กหรือเปล่า’ นั่นก็ต้องย้อนกลับไปในปี 2019 ที่ YouTube ถูกสอบสวนจากคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ในเรื่องประเด็นการละเมิดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ตของเด็ก (Children's Online Privacy Protection Act หรือตัวย่อ COPPA) โดย YouTube ได้ทำการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานซึ่งรวมไปถึงเด็กและได้นำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับผู้ลงโฆษณา
ประเด็นดังกล่าวทำให้ YouTube ต้องจ่ายค่าปรับให้กับ FTC เป็นจำนวนเงิน 170 ล้านดอลลาร์ เป็นเงินไทยประมาณ 5,200 ล้านบาท ถือว่ามากเลยทีเดียวและด้วยจ ำนวนเงินที่มากขนาดนี้ทำให้ YouTube ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์และแนวทางให้ครีเอเตอร์ต้องกำหนดเนื้อหาของวีดิโอว่าเป็นการสร้างมาเพื่อเด็กหรือไม่
แล้ววีดิโอแบบไหนที่ ‘สร้างมาเพื่อเด็ก’ ?
สำหรับเนื้อหาที่สร้างมาเพื่อเด็ก ตามการอ้างอิงจาก FTC นั้นมีลักษณะดังนี้
กลุ่มผู้ชมหลักเป็นเด็ก
กลุ ่มผู้ชมหลักอาจไม่ใช่เด็ก แต่วีดิโอนั้นก็ยังเจาะกลุ่มเด็กด้วย โดยอาจอิงจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
เนื้อหาของวีดิโอ (เป็นเนื้อหาเพื่อการศึกษาแต่สำหรับเด็กเล็ก หรือเด็กก่อนวัยเรียน)
ใช้เด็กเป็นตัวแสดง
มีการใช้ภาษาที่ทำมาหรือตั้งใจให้เด็กเข้าใจ
มีคาแรกเตอร์ คนดัง ของเล่น โมเดลที่ดึงดูดเด็กๆ
มีกิจกรรมที่ดึงดูดเด็ก เช่น การร้องเพลง เล่นเกม
มีเพลง นิทาน กลอน สำหรับเด็ก
เกิดอะไรขึ้นเมื่อเรากำหนดให้วีดิโอนั้น สร้างมาเพื่อเด็ก?
วีดิโอนั้นจะไม่สามารถใ ส่ การ์ดหรือ End Screen ได้
ไม่สามารถสร้างรายได้จาก Membership, Super Feature
ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้
วีดิโอจะไม่เล่นอัตโนมัติ
เพิ่มวีดิโอไปลงเพลย์ลิสต์ไม่ได้
ไม่ส่งการแจ้ งเตือน (Notification) ไปยังผู้ติดตามเมื่อมีการอัพโหลดเนื้อหาใหม่
ไม่มีโฆษณาที่เฉพาะเจาะจงผู้ใช้งาน ( Personalized Ads )
แล้ว Made For Kids ยังสร้างรายได้ได้อยู่ไหม?
จะเห็นได้ว่าช่องเด็ก วีดิโอสำหรับเด็กนั้น มีข้อจำกัดที่ค่อนข้างเยอะมากเลยใช่ไหมล่ะคะ? อีกทั้งการสร้างรายได้จาก Memberships หรือ Super Feature ก็ไม่สามารถทำได้ จึงทำให้ความสามารถในการสร้างรายได้ลดลง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถสร้างรายได้ ได้ 100% เลยทีเดียว เพราะก็ยังสามารถสร้างรายได้จากโฆษณาได้อยู่ แต่โฆษณาที่ปรากฎในวีดิโอนั้นจะเป็นเพียงโฆษณาทั่วไปที่ไม่ได้มีการเจาะจงผู้ใช้เหมือน Personalized Ads ทำให้รายได้จากโฆษณาตัวนี้อาจไม่สูงมากนัก (ได้น้อย แต่ได้นะ😅)
น้องทู้ปขอแนะนำว่าเพื่อนๆ ชาวครีเอเตอร์ควรกำหนดเนื้อหาของช่องและวีดิโออย่างชัดเจน เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้กำหนดเนื้อหาให้กับช่องหรือวีดิโอ YouTube ก็ยังมี Machine Learning หรือระบบ AI ในการค้นหาและตรวจจับ ซึ่งหากมีการกำหนดเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็อาจถูกระงับบัญชีได้ค่ะ
ถ้ายังไม่หายข้องใจ ตามไปไขข้อสงสัยได้ที่วิดิโอด้านล่างนี้เลยค่าา😆 👇🏻
📣อัพเดตทุกเรื่องที่ต้องรู้ กดติดตาม TubeMojo ไว้ได้เลย👍🏻